ยินดีต้อบรับ สู่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เกร็ดน่ารู้

หน่วยความจำแบบแฟลช

การคิดค้นหน่วยความจำแบบแฟลช ที่ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากขึ้นและมีขนาดเล็กสะดวกต่อการพกพา หน่วยความจำดังกล่าวมีชื่อเรียกต่างกันไป  เช่น  ทรัมไดร์ฟ  แฟลชไดร์ฟ      ยูเอสบีไดร์ฟ



หากต้องการให้คอมพิวเตอร์หาผลคูณของ100 คูณด้วย 47 มีขั้นตอนดังนี้
                                                                      1.อ่านคำสั่งและข้อมูลเข้า
2.หน่วยควบคุบถอดรหัสพบว่าคำสั่งนี้ให้หาผลคูณของ 100 คูณด้วย 47 จึงทำการส่งคำสั่ง และข้อมูลให้เอแอลยู
3.เอแอลยูจะทำการคูณ
4.ผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการแสดงผลต่อไป



          หน่วยความจำแคช
          หน่วยความจำแคชแบ่งออกเป็น  แคช L1 แคช L2 และอาจจะมีแคช L3  ในซีพียูบางรุ่นโดย แคช L1 จะมีขนาดเล็กแต่ทำงานได้เร็วกว่า  แคช L2 และ  แคช L3  ตามลำดับ ดังรูป



     ปัญหาคอขวด
            ในการเลือกซื้อเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ความเร็วบัสที่บอกไว้ จะเป็นความเร็วของฟรอนต์ไซด์บัส (FSB) ดังนั้นถ้าหากต้องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลได้ประสิทธิภาพดีที่สุด จะต้องเลือแรมที่มีความเร็วของฟรอนต์ไซด์บัสนี้ได้ด้วย ถ้าหากแรมมีความเร็วน้อยกว่าความเร็วของฟรอนต์ไซด์บัสจะทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้เช่นกัน




เครื่องขับแบบโซลิดสเตด
เครื่องขับแบบโซลิดสเตด (Solid State Drive: SSD) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วน มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบแฟลช ไม่ได้ใช้จานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว ในขณะบันทึกหรืออ่านข้อมูลเหมือนฮาร์ดดิสก์ ทำให้ประหวัดไฟกว่า การอ่านหรือบันทึกทำได้เร็วกว่า และสามารถทนต่อการกระทบกระเทือนได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่นานกว่าด้วย



การกำหนดค่าความเร็วของซีดี/ดีวีดีไดร์ฟ โดยซีดีไดร์ฟ
         การกำหนดค่าความเร็วของซีดี/ดีวีดีไดร์ฟ โดยซีดีไดร์ฟมีการกำหนดค่าเป็น X โดยเริ่มต้นที่ 1X จะเท่ากับอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขนาด 150 kB/s แต่สำหรับดีวีดีไดร์ฟ 1X จะเท่ากับ 1,350 kB/s



ระบบไฟล์ในแผ่นซีดีและดีวีดี
       การจัดเก็บข้อมูลของซีดีและดีวีดีจะเก็บเป็นไฟล์  ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้โดยตรง จึงต้องมีการจักระบบไฟล์เป็นมาตรฐาน ระบบไฟล์นี้จะแตกต่างจากระบบไฟล์ที่ใช้ในฮาร์ดดิสก์ มาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ISO 9660 และ UDF

       มาตรฐานISO 9660 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้มานานแล้ว จุดประสงค์เพื่อรองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลสามารถอ่านกันได้
    มาตรฐาน UDF (Universal Data Format) เป็นมาตรฐานที่รองรับการใช้ชื่อไฟล์ที่ยาว และมีโครงสร้างของไฟล์หลายระดับได้มากกว่ามาตรฐานแบบ ISO 9660


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น